ภาวะกระดูกหัวสะโพกตายจากการขาดเลือด

“ทําไมปวดสะโพกไม่ทราบสาเหตุ ทั้งที่อายุยังไม่มาก”

คืออะไร

คือภาวะที่เซลล์กระดูกในหัวสะโพกตายจากสาเหตุต่างๆ ส่วนใหญ่เกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงกระดูก หัวสะโพก ทําให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง เกิดการยุบตัวของกระดูกหัวสะโพกตามมา หากไม่ได้รับการ รักษา โรคจะดําเนินไปเรื่อย ๆ จนเกิดภาวะข้อสะโพกเสื่อมตามมา และเป็นสาเหตุสําคัญอันดับแรกที่ต้องผ่าตัด เปลี่ยนข้อสะโพกเทียมในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

ภาพแสดงกระดูกหัวสะโพกตายและมีการยุบตัวของกระดูกหัวสะโพก

สาเหตุ

กระดูกหัวสะโพกตายเกิดได้จากหลายสาเหตุ แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ 1. สาเหตุจากอุบัติเหตุที่เกิดกับบริเวณข้อสะโพก เช่น กระดูกข้อสะโพกหัก หรือข้อสะโพกเคลื่อนหลุด 2. สาเหตุจากโรคประจําตัว หรือได้รับสารบางประเภท เช่น ภาวะเลือดแข็งตัวง่าย การดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้ยาสเตียรอยด์ในปริมาณมาก การฉายรังสีบริเวณอุ้งเชิงกราน เป็นต้น

อาการและอาการแสดง

ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดข้อสะโพก บริเวณขาหนีบ อาจปวดร้าวไปหน้าต้นขาหรือหัวเข่าได้ ขยับข้อ สะโพกแล้วรู้สึกปวดมากขึ้น ติดขัดหรือขยับได้น้อยกว่าที่เคยเป็น เดินไม่คล่อง ปวดเวลาเดิน ถ้าเป็นมากอาจ เดินลําบาก เดินกะเผลก หรือรู้สึกขาสั้นยาวไม่เท่ากัน

การวินิจฉัย

แพทย์จะวินิจฉัยจากประวัติ การตรวจร่างกาย และการใช้ภาพเอกซเรย์ร่วมกัน บางครั้งอาจจําเป็นต้อง ใช้ภาพเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าร่วมด้วย เพราะในระยะแรกของโรค อาจไม่พบความผิดปกติจากภาพเอกซเรย์ ชนิดธรรมดา

ภาพเอกซเรย์แสดงกระดูกหัวสะโพกตายระยะต่างๆ ตั้งแต่ไม่พบความผิดปกติ (ภาพที่ 1) กระดูกหัวสะโพกเริ่มตาย (ภาพที่ 2) กระดูกหัวสะโพกยุบตัว (ภาพที่3) และข้อสะโพกเสื่อม (ภาพที่4)

การรักษา

จุดมุ่งหมายในการรักษาในระยะแรกของโรคคือ การพยายามชะลอการดําเนินโรคจนเกิดความเสียหาย ต่อกระดูกหัวสะโพกและข้อสะโพกให้ช้าที่สุด แต่ถ้าเข้าสู่ระยะที่กระดูกหัวสะโพกตายและยุบ หรือเกิดการ เสื่อมของข้อสะโพกแล้ว ไม่สามารถจะทําให้กลับมาเป็นปกติได้อีก การรักษาคือการทดแทนกระดูกและข้อที่เสียไป ดังนั้นการพิจารณาว่าจะให้การรักษาด้วยวิธีใด จะต้องคํานึงถึงขนาดของรอยโรคระยะของโรค ความคาดหวังของผู้ป่วย และผลข้างเคียงที่อาจเกิดจากการรักษา โดยการรักษาแบ่งได้เป็น 2 แนวทาง คือ

  1. การรักษาด้วยวิธีการไม่ผ่าตัด ทําเพื่อลดอาการเจ็บปวดและชะลอโรคให้ข้อสะโพกเสียหายน้อยที่สุด มักใช้ในระยะแรกที่เริ่มมีอาการ บริเวณกระดูกที่ตายมีขนาดเล็กและกระดูกยังไม่ยุบตัว แพทย์จะเริ่มรักษา ด้วยการให้ทานยาเพื่อลดความเจ็บปวด และให้คําแนะนําในการปฏิบัติตัวในชีวิตประจําวัน เช่น การออกกําลัง ที่เหมาะสม การทํากายภาพบําบัดเพื่อลดอาการปวดและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพก การใช้ ไม้ค้ำยันช่วยพยุงเดินเพื่อลดน้ำหนักและแรงกระทําต่อข้อสะโพก เป็นต้น การรักษาด้วยวิธีนี้แพทย์จะนัดตรวจ อาการและเอกซเรย์ เป็นระยะๆ เพื่อติดตามการดําเนินของโรค
  2. การรักษาด้วยการผ่าตัด มีหลายวิธี ขึ้นกับระยะและความรุนแรงของโรค เช่น การผ่าตัดเจาะกระดูกเพื่อ ให้มีเส้นเลือดใหม่เข้าไปเลี้ยงกระดูก และช่วยลดความดันในกระดูกหัวสะโพก เพื่อชะลอการดําเนินโรคและลด อาการปวด ในผู้ป่วยบางรายที่การดําเนินโรคเป็นมากแล้ว เช่น กระดูกยุบตัวหรือข้อสะโพกเสื่อม อาจต้องรักษา ด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม