โรคเกาต์คือโรคที่มีการอักเสบของข้อ เกิดจากการมีกรดยูริกในกระแสเลือดสูงเป็นระยะเวลานานและแพร่เข้าสู่ ข้อ กลายเป็นผลึกเกาต์สะสมในข้อ ซึ่งผลึกเกาต์เปรียบเสมือนสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย ร่างกายจะตอบสนองโดยเกิด การอักเสบของข้อขึ้น โรคเกาต์เป็นโรคเรื้อรังและมีแนวโน้มที่จะแย่ลงเรื่อยๆ การวินิจฉัยและรักษาให้ถูกต้องจะสามารถ ควบคุมไม่ให้เกิดการอักเสบและป้องกันการทําลายข้อได้
สาเหตุ
เกิดจากร่างกายผลิตกรดยูริกสูงเกินหรือกําจัดออกจากร่างกายได้น้อยกว่าปกติ
กรดยูริกมาจากไหน
กรดยูริกเกิดจากการย่อยสลายของสารพิวรีนซึ่งพบได้ตามธรรมชาติในร่างกาย หรือพบมากในอาหารบาง ประเภท ร่างกายจะขับกรดยูริกโดยผ่านทางไตและปัสสาวะเพื่อควบคุมให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ระดับกรดยูริกที่ปกติ ในร่างกายจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ
ปัจจัยเสี่ยง
- เพศ พบในเพศชายบ่อยกว่าเพศหญิง
- อายุ มักพบในช่วงอายุ 30-45 ปีในเพศชาย เพศหญิงมักพบในช่วงอายุ 55-70 ปีหรือหลังหมดประจําเดือน • ประวัติครอบครัว ถ้ามีคนในครอบครัวเป็นเกาต์ ก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นมากขึ้น
- โรคประจําตัวบางอย่าง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคไต
- การใช้ยาบางอย่าง เช่น ยาขับปัสสาวะที่ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคหัวใจ ยาละลายลิ่มเลือด
- พฤติกรรมบางอย่าง เช่น การดื่มแอลกอฮอล์
อาการ
ข้อที่อักเสบจะมีอาการปวดและบวม อาจมีลักษณะแดงหรือร้อนได้ ข้อที่พบบ่อยคือข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า และข้อเข่า อาการปวดจะเป็นทันทีและรุนแรง อาจจะยืนหรือเดินลงน้ำหนักไม่ได้ การอักเสบกินระยะเวลาประมาณ 3-10 วันแล้วอาการจะค่อยๆดีขึ้นช้าๆ แต่ถ้ารับการรักษาอาการจะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาจเกิดการอักเสบ กําเริบซ้ำได้อีก โดยอาการอาจจะรุนแรงขึ้นและเกิดขึ้นได้ เมื่อเป็นมากขึ้นอาจเกิดการทําลายผิวข้อ ทําให้ผิวข้อสึก เกิด อาการปวดข้อเรื้อรังหรือข้อผิดรูปได้ ในกรณีที่ระดับกรดยูริกสูงเป็นระยะเวลานาน อาจเกิดการแพร่เข้าสู่และสะสมใน เนื้อเยื่อตามบริเวณต่างๆ ในร่างกาย ทําให้มีลักษณะเป็นก้อนใต้ผิวหนัง เช่นบริเวณใบหูรอบๆข้อหรือเส้นเอ็นของนิ้วมือ หรือนิ้วเท้า เกิดการอักเสบเรื้อรังของเนื้อเยื่อบริเวณนั้น บางครั้งก้อนอาจแตกออกมานอกผิวหนังและเกิดการอักเสบติด เชื้อซ้ำได้ ถ้าสะสมที่ไตอาจทําให้เกิดนิ่วในไตหรือไตวายได้
การวินิจฉัย
แพทย์จะวินิจฉัยจากการซักประวัติ การตรวจร่างกาย ถ้าอาการไม่ดีขึ้นจากการรักษาเบื้องต้น อาจต้องตรวจเลือด คระดับของกรดยูริกเพื่อประกอบการวินิจฉัย อย่างไรก็ตามการวินิจฉัยที่ดีที่สุดคือการตรวจน้ำไขข้อเพื่อหาผลึกเกาต์
โรคเกาต์สามารถวินิจฉัยจากการตรวจเลือดได้หรือไม่
มีความเข้าใจผิดกันมาก ว่าการตรวจเลือดเพื่อหาระดับกรดยูริกเป็นวิธีการวินิจฉัยโรคเกาต์ ความจริงแล้วการ ตรวจเลือดนั้นเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งที่ช่วยในการวินิจฉัยเท่านั้น การตรวจพบระดับกรดยูริกในเลือดสูงเพียงอย่าง เดียวไม่ได้หมายความว่าผู้ป่วยจะต้องเป็นโรคเกาต์เสมอไป ยังมีสาเหตุอื่นๆอีกที่ทําให้ระดับกรดยูริกในเลือดสูงโดยที่ ผู้ป่วยไม่ได้เป็นโรคเกาต์
การรักษาประกอบด้วย
1. การลดการอักเสบและอาการปวดในช่วงที่กําเริบ ควรลดการใช้งานของข้อลง ประคบเย็นเพื่อลดอาการบวม ยกข้อให้
สูงกว่าระดับหัวใจ เช่น ถ้าข้อเข่าหรือข้อเท้าอักเสบให้ยกขาสูงเวลานอน
2. การป้องกันการอักเสบซ้ำและการลดปัจจัยเสี่ยงของการสะสมผลึกเกาต์ในข้อและในเนื้อเยื่อ และป้องกันการทําลายข้อ ในระยะยาว โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ประกอบด้วย
- การออกกําลังกายและควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม
- ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อช่วยขับกรดยูริกออกจากร่างกาย อย่างน้อยวันละ 6 – 8 แก้ว
- หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มรสหวาน
- หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารพิวรีนสูง
3. การใช้ยา แพทย์จะพิจารณาสั่งและปรับยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย โดยยาที่ใช้มีหลายชนิด ได้แก่
- ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ช่วยลดการอักเสบและอาการปวด ใช้เป็นครั้งคราวช่วงสั้นๆเมื่อมีการอักเสบ
- ยาป้องกันโรคเกาต์กําเริบ แพทย์มักจะสั่งให้รับประทานในขนาดน้อยๆ ต่อเนื่องไปจนกว่าข้ออักเสบจะไม่กําเริบ
- ก้อนผลึกเกาต์ใต้ผิวหนังยุบหายไปและระดับกรดยูริกในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมติดต่อกันอย่างน้อย 6 เดือน
- ยาลดกรดยูริก ได้แก่ ยาลดการสร้างกรดยูริกและยาขับกรดยูริก แพทย์จะตัดสินใจเลือกให้ตามความเหมาะสม
อาหารที่มีสารพิวรีนซึ่งเป็นสารตั้งต้นของกรดยูริก
อาหารที่มีสารพิวรีนสูง (มากกว่า 150 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม) ควรงด
- เครื่องในสัตว์ เช่น หัวใจ ตับ ตับอ่อนเซี่ยงจี้ ก็น สมอง
- เนื้อสัตว์ปีก เช่น ไก่ เป็ด ห่าน
- ปลาอินทรีย์ ปลาซาดีน ปลาขนาดเล็ก ปลาไส้ตัน ปลาดุก ไข่ปลา กะปิ หอย กุ้ง
- น้ำต้มกระดูก น้ำสกัดเนื้อ ซุปก้อน
- ถั่วดํา ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง
- เห็ด กระถิน ชะอม สะเดา หน่อไม้ฝรั่ง
อาหารที่มีสารพิวรีนปานกลาง(50 – 150 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม) ควรจํากัด
- เนื้อหมู เนื้อวัว
- ปลากะพงแดง ปลาหมึก ปู
- ถั่วลิสง เมล็ดถั่วลันเตา ใบขี้เหล็ก สะตอ ผักโขม ยอดแค กะหล่ำดอก ตําลึง
อาหารที่มีสารพิวรีนต่ำ (0 – 50 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม) สามารถรับประทานได้
- นม ผลิตภัณฑ์จากนม ไข่
- ผักและผลไม้